เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ไปไม่ได้ อานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงหวัง คือ จักบรรลุเจโตวิมุตติ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค
ซึ่งมิได้เกิดขึ้น ตามสมัย อันไม่กำเริบ ย่อมเป็นไปได้”1 รวมความว่า บุคคลสัมผัส
วิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลผู้ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ
คำว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์แล้ว อธิบายว่า พระสุริยะเรียกว่า พระอาทิตย์ พระสุริยะนั้น
เป็นพระโคดมโดยพระโคตร แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นพระโคดมโดยพระโคตร
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ คือ เป็นเผ่าพันธุ์โดย
โคตรพระอาทิตย์ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ
อาทิตย์
คำว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์แล้ว อธิบายว่า ฟัง คือ สดับ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดถ้อยคำ
คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ รวมความว่า บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย
วิมุตตินั้นเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
บุคคลใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ทุติยวรรค จบ

เชิงอรรถ :
1 ม.อุ. 14/186/160, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/30/42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :452 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ตติยวรรค
[141] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า)ประพฤติล่วงทิฏฐิ
อันเป็นเสี้ยนหนาม ถึงนิยาม ได้เฉพาะมรรคแล้ว
เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (1)
คำว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า)ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม
อธิบายว่า สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 เรียกว่า ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม ปุถุชนผู้มิได้
สดับ ในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการ
แนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้
รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมองเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีรูป
เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป
ย่อมมองเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณโดยความ
เป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม
คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น
ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือ
ขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่เป็นความจริง
ว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม
คำว่า (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่
ประพฤติล่วง คือ ก้าวพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม รวมความว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ประพฤติล่วงทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม
คำว่า ถึงนิยาม ได้เฉพาะมรรคแล้ว อธิบายว่า มรรค 4 เรียกว่า นิยาม
ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :453 }